เที่ยวคาสิโนเขมร (กัมพูชา)
ตะลอนเที่ยววันหยุดสุดสัปดาห์กับชายแดนที่คาสิโนและตาเหมือนอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้ตะลอนทัวร์กับผู้สนใจกลุ่มหนึ่งไปยังเส้นทางสายอีสานใต้อีกครั้ง จากจังหวัดสุรินทร์ไปยังอำเภอกาบเชิง เป็นที่ตั้งของช่องเข้า ”ช่องจอม” เส้นทางเก่าแก่ระหว่างหุบเขาจากเขมรล่างมายังเขมรสูงของอีสานใต้ในอดีตติดกับอำเภอช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ จะเป็นอำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัย ของประเทศกัมพูชาซึ่งทั้งสองประเทศได้ตั้งด่านจุดผ่านแดนถาวรขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับที่ว่าเรียบร้อย เพราะเมื่อหลายปีที่แล้วที่ผมเคยได้แวะไปตะลอน ตอนนั้นช่องจอมยังเป็นด่านแบบจุดผ่อนปรนชั่วคราวอยู่เราต้องเดินทางผ่านเขต ” No MAN Land” อันหมายถึงเขตปลอดทหาร ข้ามไปเที่ยวชมสินค้าพื้นเมืองและของหนีภาษีรวมทั้งของจากป่าสด ๆ ในตลาดเล็ก ๆ ฝั่งตรงข้าม บรรยากาศการเที่ยวต่างประเทศในช่วงนั้นสนุกสนานมากครับ เพราะมีรถเข็นและรถตุ๊กคันเล็ก ลำเลียงคนผ่านเขตปลอดทหาร จำได้ว่าคนละ 20 บาทวันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดแล้ว ถนนลาดยางมะตอยอย่างดี จากตัวจังหวัดไปจนถึงด่านช่องจอม ส่วนในฝั่งของกัมพูชาก็มีการพัฒนาบ้านเมืองเป็นตลาดใหญ่และมีคนไทยร่วมทุนกับ “ผู้ใหญ่” เปิดบ่อนคาสิโนในฝั่งประเทศกัมพูชา 2 แห่งมีชื่อว่าโรยัล ฮิลล์ กับ โอเสม็ดรีสอร์ท โดยแต่ละวันจะมีรถตู้โดยสารของบ่อนคาสิโน มาจอดรองรับคนไทยที่จะเดินทางเข้าไปเสี่ยงหายนะจากการพนัน รอรับหมู อยู่ทุกวัน บริเวณหน้าประตูทางออกของฝั่งกัมพูชา
ข้าราชการของฝั่งไทยเป็นลูกค้าชั้นดีครับ พี่ที่ด่านเล่าว่า พอผู้ใหญ่สั่งให้นำเอากล้องทีวีวงจรปิดมาติดตั้ง
เพื่อจับภาพบุคคลเข้า – ออกประเทศในช่วงวันเงินเดือนออกและต้นเดือน ข้าราชการในท้องถิ่นก็เริ่มหายหน้ากันไปเห็นว่ากลัวจะดังเกินไป กลัวเป็นดารา WHERE ARE YOU วันนั้น กรุ๊ปของผมก็อยากจะข้ามไปเที่ยว แต่ด้วยข้อมูลเก่าผมคงล้าหลัง เขต NO MAN LAND คงจะยกเลิกไปแล้วด่านที่นี่จะต้องใช้พาสปอร์ตในการทำเรื่องขอข้ามแดนตามปกติ หลายคนในคณะไม่ได้พกเอาพลาสปอร์ตมา ก็เลยได้แต่ตัดพ้อผม
ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ในใจของผมกลับคิดว่าเป็นโชคดีครับ ที่ผมจะได้ไม่ต้องพาใครไป กับเรื่องพรรณอย่างนี้ ส่วนใคร ” Want ” มาก ก็ให้มากันเองในคราวหน้าล่ะกัน โปรแกรมนี้ผมจะพาไปตะลอนเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณดคีนะครับ
ประวัติศาสตร์ โบราณคดีของคนนอกกรอบอย่างผม ก็คงแตกต่างไปจากตำราโบราณคดีและ Brochures ท่องเที่ยวไปหลายอย่างหลายเรื่อง ก็แล้วแต่จะเชื่อนะครับ เอาสนุกเมื่อได้เที่ยวจะดีกว่าจะไปจำอะไรน่าปวดหัวนัก กลุ่มปราสาทบ้านตาเหมือน อยู่ห่างจากแยกอำเภอปราสาทไปประมาณ 40 กิโลเมตร ก็ต้องมีความตั้งใจที่จะเข้าไปเที่ยวชมกันจริง ๆ ถึงจะเดินทางแยกเข้าไป เพราะเขตนี้เคยเป็นเส้นทางอันตราย เปลี่ยวและเป็นเส้นไปสุดทางตัน
สมัยก่อนแถวนี้เป็นที่ตั้งค่ายพักของผู้อพยพชาวเขมรแดง ที่รัฐบาลไทยให้การคุ้มครองตั้งค่ายอพยพและดูแลอย่างดี ส่วนที่ไม่ดีไม่ต้องไปพูดถึงหรอก มันเยอะมากกลุ่มปราสาทตาเหมือน เป็นกลุ่มปราสาทในพื้นที่สำคัญขนาดใหญ่ของช่องเขาที่เป็นจุดพักหรือเชื่อมโยงเส้นทางติดต่อระหว่างเขมรสูงและเขมรล่าง มาตั้งแต่สมัยโบราณกลุ่มปราสาทตาเหมือน มีปราสาทสำคัญอยู่สามปราสาท ปราสาทแรกที่พบเห็นของเส้นทางเดินรถ คือปราสาทตาเหมือนและปราสาทตาเหมือนโต็จ ส่วนปราสาทสุดท้ายปลายทางติดกับชายแดนกัมพูชา คือปราสาทตาเหมือนธม “ธม” แปลว่า”ใหญ่”จึงหมายความว่าปราสาทตาเหมือนธมก็คือปราสาทที่ ใหญ่ที่สุดในกลุ่มครับที่ปราสาทตาเหมือนธมจะมีหน่วย ตชด. ตั้งฐานอยู่ เพื่อดูแลความปลอกภัย ชายแดนและกลายมาเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวจำเป็น เมื่อมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามาก ยิ่งในสมัยการท่องเที่ยวกู้ชาติกำลังรุ่งนี้แล้วด้วย
ปราสาทตาเหมือนโต๊จ เป็นธรรมศาลาทางศาสนา ที่พักคนเดินทางทางเศรษฐกิจ ด่านตรวจคนเข้าเมืองทางการปกครอง และ อโรคยศาลาในทางการดูแลพสกนิกร มีลักษณะโครงสร้างที่แตกต่างไปจากปราสาทหินยุคเดียวกัน ด้วยทำหน้าที่เป็นเหมือนอาคาร จึงมีมุขปราสาทที่ยาวออกมา มีหน้าต่าง 4 บาน ปลายมุขเป็นหน้าจั่ว แต่คงพังไปหมดแล้ว การวางโครงสร้างของโถงมุขอาคารปราสาทนี้ เป็นลักษณะพิเศษ แต่ก็ไม่คงทนหากเกิดแผ่นดินไหว จารึกที่พบที่นี่บอกว่า เป็น”ธรรมศาลา” เพื่อเป็นที่พักของคนเดินทาง ผมสังเกตที่ทับหลังส่วนหน้าสุดของมุขโถงอาคาร ก็พบกับ”ทับหลัง”ที่น่าสนใจ ที่บอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์และของปราสาทหลังนี้ได้มากมาย ทับหลังนี้ จัดเป็นศิลปกรรมแบบเขมร(ขอม)โบราณ ในศิลปะแบบปราสาทบายน ในรัชสมัยอันรุ่งเรื่องสุดขีดของอารยธรรมยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ในพุทธศตวรรษที่ 18 ที่ทรงสถาปนา “อโรคยศาลา”จำนวน 102 แห่ง พร้อมส่งพระพุทธรูปประจำทุก “สุคตาลัย” (ศาสนสถานของโรงพยาบาล) ทั่วพระราชอาณาเขต ตามจารึกที่พบในปราสาทพระขรรค์ในเขตจังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ในสมัยของพระองค์ อารยธรรมเขมรหรือขอมโบราณมีคตินิยมในปรัชญาของศาสนาพุทธนิกาย”วัชรยาน” หลายคนก็หลงไปเป็นลัทธิ”มหายาน”กันเป็นประจำ มหายานกับวัชรยานต่างกันมากครับเพราะวัชรยาน คือพุทธนิกายที่ไปเอาลัทธิตันตระของพระเวทในศาสนาฮินดูมาใช้ ในขณะที่มหายาน ไม่ได้ใช้ ภาพสลักดังกล่าวหากสังเกตดี ๆ นะครับ จะเห็นพระพุทธเจ้าในมุมมองของเรา นั่งปางสมาธิ และมีอะไรกลม ๆ อยู่ในมือ ในมือนั้นก็คือ “หม้อยา” หรือ “หม้อมงคล” เพื่อการรักษาความมืดมนของชีวิต พระองค์นี้จึงเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อการรักษาโรคภัย อันเป็นความนิยมเฉพาะในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และในศาสนาวัรยานของธิเบตและเนปาลครับพระองค์นี้มีชื่อว่า “พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา” พระพุทธเจ้าเพื่อการรักษาโรคและจิตใจของนิกายวัชรยานเขมรในพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งในศาสนาสถานที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน จะมีรูปพระไภษัชยคุรุนี้ทุกแห่ง ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สำคัญ หากสังเกตด้านข้างของรูปสลักองค์พระท่านจะเห็นรูปสลักของบุคคลชายหญิงนั่งไหว้อยู่ทั้งซ้ายและขวา ในพลิ้วลวดลายพฤกษา นั่นหมายถึง”ประชาชน” และนี่คือหลักฐานความเป็น”ประชาชน”
ครั้งแรก ที่พบในรูปสลักแห่งเทพเจ้ารูปสลักที่ไม่เคยเปิดโอกาสให้รูปของคนชั้นล่างสุด คนที่ไม่ได้เป็นเทพบนสรวงสวรรค์มาอยู่ในรูปมงคล แต่ในยุคสมัยนี้ เชื่อแน่ว่าประชาชนของอาณาจักร มีความสงบและมีความสุขสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง…. บ่งบอกผ่านรูปสลักของทับหลังแห่งนี้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ใช้คติวัชรยานเพื่อการปกครองคนในราชอาณาจักรครับ มหาราชาผู้ยิ่งใหญ่ในคัมภีร์ทางศาสนาของพราหมณ์ที่ส่งต่อมายังวัชรยาน คือมหาราชาที่ต้องดูแลเรื่องสำคัญสองอย่างของพสกนิกร
ก็คือ น้ำ และ สุขภาพหรือโรคภัย ครับพระองค์จึงได้รับสมญานามว่ามหาราชของประเทศกัมพูชาและมหาราชาแห่งภูมิภาคสุวรรณภูมิพระองค์หนึ่ง จากนักวิชาการผู้ไม่ติดยึดกับ”ชาตินิยม”ปราสาทต่อมา คือปราสาทตาเมือน เป็นปราสาท”สุคตาลัย” หรือปราสาทที่สร้างขึ้นเพื่อถวายการบูชาพระพุทธเจ้า “ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา” ประจำอโรคยศาลาที่สร้างเป็นอาคารไม้ภายในกำแพงหรือตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ไม่หลงเหลือทรากอยู่แล้ว ปราสาทหลังนี้ก็สร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับปราสาทตาเมือนโต๊จ ด้านข้างของสุคตาลัยจะเป็น”บาราย” บ่อน้ำที่เก็บน้ำศักดิ์สิทธิ์ “น้ำ”เป็นตัวเชื่อมโยงสำคัญของโลกมนุษย์และโลกแห่งพระพุทธเจ้าหรือโลกแห่งเทพเจ้า ในการประกอบพิธีกรรมด้านหน้าของปราสาทตาเมือน มีรากฐานของ “ชานชาลารูปกากบาท” เป็น”สะพานรุ้ง” หรือเส้นทางเข้าสู่สรวงสวรรค์ ที่ยังใช้คติเดิมของเขมรในยุคที่นับถือเรื่องของเทพเจ้าในสมัยก่อนหน้าร่องรอยของฐานทางเดินนี้ ทำให้เรารู้ว่า ปราสาทตาเมือนมีความสำคัญมากในระดับไม่ธรรมดา เพราะมีชานชาลาเพิ่มเติมเข้ามาแตกต่างไปจากอโรคยศาลาแห่งอื่น ๆ ในประเทศไทยหลายแห่งหรืออาจตีความหมายได้ว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เคยเสด็จมาถึงที่สุคตาลัยปราสาทตาเมือนนี้แล้ว จึงมีการสร้างทางเข้าปราสาทให้สมพระเกียรติ์และก็คงเป็นเพราะปราสาทหลังนี้ ตั้งอยู่บนเส้นทางสำคัญของเขมรสูงและเขมรล่างที่คงมีผู้คนเดินทางผ่านไปมา แถบนี้คงวุ่นวายโกลาหลด้วยผู้คน ขบวนสินค้าร้านค้า ที่พักแรม ในยุคสมัยนั้น ปราสาทจึงมีความพิเศษกว่าปราสาทอื่น ๆ ปราสาทหลังสุดท้ายของกลุ่มปราสาทตาเมือน คือปราสาทตาเมือนธม ปราสาทหินหลังนี้สร้างขึ้นในยุคสมัยก่อนหน้าปราสาทที่ผ่านมาทั้งสองแห่งครับ ปราสามตาเมือนธม มีแผนผังในระบบจักรวาลเช่นเดียวกับปราสาทหินในวัฒนธรรม”ปราสาท”ของเขมรโบราณ ในยุคพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 คือมีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง รายล้อมด้วยวิหารระเบียงคดเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีโคปุระหรือประตู 4 ทิศ และมีปรางค์เล็กสององค์ ที่สร้างขึ้นตามยันต์หรือมันดาราของผู้สร้าง เป็นการวางผังศาสนสถานแบบฮินดู คือ ปรางค์ประธานสร้างขึ้นเพื่อถวายการบูชาแก่พระศิวะ ในลัทธิไศวะนิกาย ปรางค์องค์เล็กสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระนางอุมา ศักติหรือพลังแห่งพระศิวะ และปราสาทน้อยอีกองค์สร้างขึ้น เพื่อพระผู้เป็นพระอาจารย์หรือสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระคเณศหรือพระขันธกุมาร ผู้เป็นพลังอันเป็นสักขีพยาน หรือเป็นพลังเบื้องหน้า อยู่ที่ผู้สร้างจะสถาปนาครับ ปราสาทหลังนี้ สร้างขึ้นในราวสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ตอนปลาย หันหน้าลงไปทางทิศใต้ คือหันไปทางเมืองพระนครหลวงที่นครวัด สร้างขึ้นบนภูเขาหินทรายสีชมพู เนินเตี้ย ๆ หินที่ใช้สร้างปราสาทเป็นหินทราย ก็ตัดเอาหินจากเนินเขาที่ตั้งปราสาทนั้นแหละมาสร้าง และปรับปรุงพื้นของหินภูเขามาใช้เป็นรากฐานรวมทั้งการวางท่อรางโสมสูตร น้ำศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม ให้ไหลออกมาตามแนวของร่องหินที่เซาะไว้สลับกับการสลักหินเป็นรางน้ำ ผ่านไปยังนอกโคปุระเพื่อให้ขุนนางและประชาชนที่มาร่วมพิธีกรรมได้รับน้ำศักดิ์สิทธิ์จากห้องโถงกลางของปราสาทประธาน เป็นการดัดแปลงพื้นหินทรายของภูเขามาเป็นร่องน้ำผสมกับการสลักหินมาทดแทนส่วนที่ขาดไปของพื้นหิน มีเพียงแห่งเดียวในเมืองไทยก็ที่นี่แหละครับปราสาทตาเมือนสร้างไม่เสร็จสิ้นครับ โดยเฉพาะปราสาทหลังเดี่ยว ระเบียงคดและโคปุระยังไม่ปรากฏลวดลายสลักแต่อย่างใด เชื่อว่าคงเพราะหมดบุญของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ หรือกษัตริย์ในพื้นที่นั้นไปเสียก่อน งานก่อสร้างปราสาทจึงหยุดลง ตลอดกาลภายในปราสาทประธาน ยังมีร่องรอยการ”เริ่ม”แกะสลักรูปเกียรติมุข ที่ทับหลังภายใน ส่วนในห้องโถงของเรือนปราสาท เป็นที่ตั้งของ “ลึงค์บรรพต” หรือ” เอกมุขลึงค์ ” สัญลักษณ์”เพศชาย” หรืออำนาจสูงสุดแห่งพระศิวะ ที่สลักดัดแปลงจากหินธรรมชาติที่เป็นรากฐานของปราสาทปราสาทประธานมีการแกละสลักลวดลายสวยงามที่สุดในหมู่ปราสาท แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายเพราะมีหลักฐานการรื้อทำลายในหลายเวลา การทำลายในสมัยหลังสุดอยู่ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยคนมีสีทางราชการ ที่เข้ามาระเบิดปราสาท กระเทาะนำเอารูปสลักนางอัปราแค่ส่วนหน้าและชิ้นส่วนปราสาทเช่นนาคปลายหน้าบันออกไปจำนวนมาก ปราสาทตาเมือนธม จึงเป็นอนุสรณ์ของการปล้นทำลายครั้งร้ายแรงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยในยุคร่วมสมัย โดยผู้มีอำนาจวาศนาที่หลงไหลในโบราณวัตถุแบบเขมร หลงไหลโดยการทำลายและขโมย ระเบียงคดทางทิศใต้ ด้านหน้าที่หันไปทางประเทศเขมร วิหารระเบียงคดและโคปุระถูกรื้อหายไปทั้งหมด เชื่อว่าถูกรื้อหินไปเพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุหลักในการสร้างปราสาทตาเมือนและตาเมือนโต๊จในยุคหลังนั่นเอง
การรื้อปราสาทเพื่อไปสร้างศาสนสถานใหม่ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 เพราะวัสดุศิลาแลง หินทรายเพื่อการใช้แกะสลักและแรงงานในการสร้างปราสาทขาดแคลนอย่างมาก
จึงต้องมีวิธีการดัดแปลงทุ่นเวลากันบ้าง เพราะหากมัวแต่ไปหาวัสดุใหม่ ก็คงจะสร้างปราสาทอโรคยศาลาเสร็จไม่ทันตามพระราชบัญชาของของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งก็อาจจะมีเภพภัยและความโชคร้ายสุด ๆ
มาเยือนผู้ปกครองแถบนั้นแทน เป็นแน่ ด้านหน้าสุดของปราสาทตาเมือนธม เป็นขั้นบันไดแบบปิรามิดที่มีการวางฐานสามชั้นตามคติสรวงสวรรค์เขาพระสุเมรุ ทางขึ้นสู่เทวาลัยเทพเจ้า ด้านหน้าที่เห็นเป็นแนวป่า เป็นเขตแดนของประเทศกัมพูชาครับ ที่ดูยังอุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่เขาอนุรักษ์ป่าอย่างสุดหัวใจกันแต่อย่างใด แต่ด้วยพื้นที่แถบนี้ มี “กับระเบิด” ที่ยังไม่ฝ่อของเขมรแดงวางอยู่มากมาย เป็นพื้นที่อันตราย ต่างหากกลุ่มปราสาทตาเมือน เป็นที่น่าท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของอีสานใต้ หากท่าได้มีโอกาสเดินทางมา วันดีคืนดี ก็จะได้พบเห็นชาวบ้านเขมร เดินทางเข้ามาทำบุญและหาซื้ออาหารและของใช้กลับไปในหมู่บ้านฝั่งตรงข้าม เป็นธรรมชาติ ๆ ที่ไม่เครียดเรื่องของพรมแดน เรื่องของชนชาติ และหากผมโชคดีในหน้าร้อนหน้านี้ ก็จะมีคณะเดินทางเข้าไปสำรวจปราสาทที่อยู่ในฝั่งกัมพูชา ฝั่งโน้นก็มีนะครับปราสาทในยุคเดียวกับกลุ่มปราสาทตาเมือน มีหลายแห่งด้วยนะครับสักวันหนึ่งเมื่อตลาดท่องเที่ยวชายแดนเปิด คงจะมีโปรแกรมข้ามไปเที่ยวฝั่งตรงข้าม เพื่อไปชมปราสาท”คู่แฝด”กับกลุ่มปราสาทตาเมือนได้อย่างสบายใจ หากในวันนั้นประเทศไทยของเรากับประเศกัมพูชา คงจะได้เลิกหาเรื่องทะเลาะกันในเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของปราสาทตามแนวชายแดน ดังกรณีปัญหาการขอมรดกโลกเขาพระวิหาร รวมทั้งการหาเสียงแบบชาตินิยมในกัมพูชา
วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
เที่ยวคาสิโนเขมร (กัมพูชา)
ป้ายกำกับ:
บาคาร่า,
บาคาร่าออนไลน์,
Baccarat,
Baccarat online,
Casino,
Casino online,
Gclub